วันเสาร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

ความสำคัญของการถนอมอาหาร

ความสำคัญของการถนอมอาหารการถนอมอาหารมีประโยชน์ และมีความสำคัญหลายอย่าง เช่น1.ช่วยบรรเทาความขาดแคลนอาหาร เช่นการเก็บรักษา และแปรรูปอาหารในยามสงคราม เกิดภัยธรรมชาติ เกิดภาวะแห้งแล้งผิดปกติ2.ช่วยให้เกิดการกระจายอาหาร เพราะในบางประเทศไม่สามารถผลิตอาหารให้เพียงพอต่อความต้องการของประชากรได้ จึงจำเป็นต้องอาศัยอาหารจากแหล่งผลิตอื่น3.ช่วยให้มีอาหารบริโภคนอกฤดูกาล เช่นเมื่อพ้นฤดูการผลิตของผลิตผลเกษตรนั้นๆ ไปแล้ว ก็ยังสามารถนำผลิตภัณฑ์ที่เก็บไว้มาบริโภคได้4.ใช้อาหารเหลือให้เกิดประโยชน์ เช่น ในกระบวนการแปรรูปผลผลิตการเกษตรจะมีวัตถุดิบเหลือทิ้ง ซึ่งเราสามารถนำส่วนที่เหลือนั้นมาแปรรูปเก็บไว้เป็นอาหารได้5.ช่วยให้เกิดความสะดวกในการขนส่งโดยที่อาหารไม่เน่าเสีย สามารถพกพาไปที่ห่างไกลได้6.ช่วยยืดอายุการเก็บอาหารไว้ให้ได้นาน เพราะอาหารที่ผ่านการแปรรูปเพื่อการถนอมอาหารไว้จะมีอายุการเก็บที่ยาวนานกว่าอาหารสด7.ช่วยเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร และลดปัญหาผลผลิตล้นตลาด

ประวัติส่วนตัว

ประวัติส่วนตัว

ชื่อ นางสาว สมสิริภา  สิริมุรธา
ชื่อเล่น จัสมินทร์
เกิดวันที่  18  สิงหาคม 2541
Facebook: somsiripa  sirimurata
Instargram: minsomsiripa
Line ID: somsiripa

Twitter: viewwie

การตกแต่งบริเวณด้วยไม้ประดับ

การตกแต่งบริเวณด้วยไม้ประดับ
การตกแต่งบริเวณด้วยไม้ประดับ เป็นการสร้างบรรยากาศแวดล้อมที่อยู่อาศัยให้มีความงดงาม ดูร่มรื่น สดชื่นทั้งตาและใจ ทำให้มนุษย์ได้อยูใกล้ชิดกับธรรมชาติขึ้นบ้างไม่มากก็น้อย การตกแต่งบริเวณด้วยไม้ประดับ มีหลายรูปแบบด้วยกัน ได้แก่ สวนประดิษฐ์ สวนธรรมชาติ สวนหิน สวนน้ำ สวนลอย สวนหย่อม เป็นต้น

สวนประดิษฐ์

เป็นการจัดสวนขนาดใหญ่ใช้รูปทรงทางเรขาคณิต เช่น ทรงกลม รูปเหลี่ยมต่างๆ ใช้เป็นแบบในการจัด บริเวณสวนจะประกอบด้วยแปลงไม้ดอก ซุ้มไม้ดอก น้ำพุ น้ำตก สนามหญ้า และทางเดิน

สวนธรรมชาติ
เป็นการจัดสวนโดยเลียนแบบธรรมชาติ ไม่มีรูปทรงแน่นอน อาศัยหลักการประสานกลมกลืน จัดให้มีความสมดุลในตัวเอง ไม้ประดับที่ใช้มีทั้งไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ จนถึงขนาดเล็ก มีทั้งไม้ประดับใบไม้ประดับดอก ไม้คลุมดิน ไม้กลางแจ้ง และไม้ร่มเงาวางตำแหน่งต่อเชื่อม ให้ได้บรรยากาศกลมกลืนเหมือนธรรมชาติ
สวนหิน
เป็นการจัดสวนที่ใช้กอ้นหินซึ่งมีรูปร่าง ลักษณะและขนาดต่างๆ กันมาใช้เป็นองค์สำคัญในการจัดประดับตกแต่ง พื้นที่จัดควรมีลักษณะลาดเอียงหรือเป็นเนิน สูง ๆ ต้ำ ๆ รวมทั้งเลือกใช้ต้นไม้ให้เหมาะสมกับตำแหน่งและการจัดวางหิน

การจัดสวนหินแบ่งได้เป็น 3 ลักษณะ คือ

- สวนหินประกอบต้นไม้

- สวนหินประกอบต้นไม้และน้ำ

- สวนหินประกอบต้นไม้ทรายและกรวย

ตัวอย่างพันธุ์ไม้ประดับ

ตัวอย่างพันธุ์ไม้ประดับ

1. หมากเหลือง (Areca Palm หรือ Yellow Palm)

หมากเหลือง เป็น ไม้ประดับภายในอาคารที่เป็นที่นิยมมากชนิดหนึ่ง เพราะมีความสวยงาม มีความทนต่อสภาพแวดล้อมภายในอาคารและคายความชื้นให้แก่อากาศภายในห้องได้ เป็นจำนวนมาก ในขณะที่มีประสิทธิภาพสูงในการดูดสารพิษจากอากาศได้ในปริมาณมากเช่นกัน หมากเหลืองเป็นพืชตระกูลปาล์มที่ปลูกง่าย โตเร็ว เป็นพันธุ์ไม้ขนาดกลาง สูงประมาณ 5–10เมตร ลำต้นมีลายคล้ายข้อปล้อง โค้งงอและตั้งตรงได้สัดส่วนสวยงาม เจริญพันธุ์ด้วยการแตกหน่อเป็นกอประมาณ 5–12 ต้น ใบมีลักษณะเป็นรูปขนนกแผ่นใบมีสีเขียวอมเหลืองออกดอกเป็นช่อสีเหลืองอ่อนเป็นอยู่ใต้กาบใบ
    ภายใต้สภาพแวดล้อมห้อง หมากเหลืองขนาดสูง 1.8 เมตรจะคายน้ำประมาณ ลิตร ทุกๆ 24 ชั่วโมง ในบรรดาไม้ประดับดูดสารพิษด้วยกัน หมากเหลือง เป็นพืชที่ดูดสารพิษจากอากาศได้ในประมาณมากที่สุดชนิดหนึ่งที่แนะนำให้ปลูก ไว้ใน อาคารสำนักงาน หรือ บ้านเรือ

2.จั๋ง   (Lady Palm หรือ Ground)
ลักษณะโดยทั่วไป :ปาล์มชนิดแตกกอ ลำต้นขนาดเล็ก สูง  ได้ถึง 3 เมตร มีแผ่นใยสีน้ำตาลเข้มคลุมอยู่บางๆ ทั่วลำต้น 
ใบ: ใบเดี่ยว เรียงเวียนรอบต้น ใบรูปฝ่ามือ ขอบจักเป็นใบย่อย 4-10 ใบ เรียงแผ่เป็นรูปครึ่งวงกลม ใบย่อยหนาแข็ง รูปเรียว ยาว ปลายใบทู่ ก้านใบยาว
 
ดอก: ออกเป็นช่อที่ซอกกาบใบ ก้านช่อดอกมีขนดอกแบบแยกเพศและอยู่แยกต้น
 
ผล: เป็นผลเดี่ยว ทรงกลม ขนาดเล็ก
 
สภาพปลูก:
 ดินร่วน ระบายน้ำดี ชอบแสงช่วงครึ่งวันเช้าหรือร่มรำไร ปลูกอยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่ 
ขยายพันธุ์: แยกกอและเพาะเมล็ด 
ขยายพันธุ์: แยกกอและเพาะเมล็ด 

3.ยางอินเดีย (Rubber Plant)


   ยางอินเดีย เป็น ไม้ประดับที่รู้จักในเมืองไทยมานานแล้ว เป็นพรรณไม้ขนาดใหญ่ ถ้าปลูกกลางแจ้งจะสูงไม่มากนัก ถึงแม้จะเป็นไม้ที่ชอบแสงแดดแต่ก็เจริญเติบโตได้ในสภาพแสงน้อย ปลูกง่ายทนทาน มิหนำซ้ำยังมีคุณสมบัติดีเด่นในการดูดสารพิษจากอากาศภายในอาคารได้ดีเยี่ยม ยางอินเดียมีลำต้นตั้งตรง  ลักษณะเด่นอยู่ที่ใบ มีลักษณะกลมรีปลายแหลม ใบหนาสีเขียวเข้มเป็นมันวาว ปลูกเป็นไม้ประดับได้ทั้งภายในและภายนอกอาคาร
        ใน บรรดาไม้ขนาดใหญ่ด้วยกัน ยางอินเดีย เป็นไม้ประดับภายในอาคารที่น่าสนใจ เพราะเจริญเติบโตได้ดีถึงจะมีแสงน้อย ปลูกง่าย ทนทาน ต้องการน้ำไม่มาก แต่ในทางตรงกันข้ามกลับคายความชื้นได้มาก  และที่สำคัญเป็นพืชดูดสารพิษช่วยฟอกอากาศภายในบ้านและสำนักงานได้อย่างดีเยี่ยม

ประโยชน์ของไม้ประดับ


ประโยชน์ของไม้ประดับ
1  สร้างความสดชื่นให้แก่ผู้อาศัยในบริเวณบ้าน หรือบริเวณที่พักอาศัย2  ใช้ประดับตกแต่งอาคาร สถานที่ให้เกิดความสวยงาม3  ใช้ในงานพิธีและโอกาสต่างๆ เช่น งานแต่งงาน งานไหว้ครู งานศพ เป็นต้น4  ใช้เพิ่มสีสันให้แก่อาหารและเครื่องดื่ม ให้สวยน่ารับประทาน เช่น สีม่วงจากดอกอัญชัน สีเขียวจากใบเตย สีเหลืองจากฟักทอง เป็นต้น5  ใช้เป็นยารักษาโรค เช่น ดอกบัวหลวง ใช้ใบอ่อนปรุงเป็นยา บำรุงร่างกายให้สดชื่น ใบแก่ใช้แก้ไข้ บำรุงโลหิต เป็นต้น6  ใช้เป็นของขวัญ ของที่ระลึก เช่น กระเช้าดอกไม้ หรือแจกันดอกไม้ ช่อดอกไม้ เป็นต้นสร้างอาชีพ เกี่ยวกับดอกไม้ ไม้ประดับ เช่น การจำหน่ายไม้ดอก ไม้ประดับ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ธุรกิจจัดสวน เป็นต้น

ประเภทของไม้ประดับ

ประเภทของไม้ประดับ 
แบ่งตามลักษณะของการใช้งานได้เป็น ประเภท คือ 1.ประเภทไม้ประดับภายในอาคารหรือในร่มรำไร
เป็น กลุ่มพืชที่ต้องการแสงน้อย-ปานกลาง ส่วนมากจะปลูกอยู่ในอาคารสำนักงานที่มีแสงน้อย แดดส่องถึงบ้าง อุณหภูมิไม่สูงนัก พืชกลุ่มนี้ได้แก่ แก้วหน้าม้า พืชตระกูลฟิโลเดนดรอนและมอนสเตอรา เดหลี เป็นต้น 
2.ประเภทไม้ประดับภายนอกอาคารหรือกลางแจ้ง เป็นกลุ่มพืชที่ต้องการแสงมากตลอดทั้งวัน ส่วนมากปลูกประดับอยู่ภายนอกอาคารหรือตามสนามต่างๆ พืชกลุ่มนี้ได้แก่ โกสน พืชตระกูลปาล์ม เป็นต้น

ความหมายของไม้ประดับ

ความหมายของไม้ประดับ

                ไม้ประดับ  หมายถึง  พืช ที่ปลูกขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์จากรูปร่าง รูปทรง สีสันของลำต้นและใบ พืชชนิดนี้จะมีรูปทรง รูปร่าง สีสีนของลำต้นและใบสวยงามแตกต่างกันไป  นิยม ปลูกประดับตกแต่งอาคารสถานที่ทั้งในพื้นดินและในกระถาง มีทั้งไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ไม้พุ่ม และไม้ล้มลุก เช่น ปาล์มต่าง ๆ ข่อย สนชนิดต่าง ๆ ไทรยอดด่าง ฤาษีผสม เฟิร์นชนิดต่าง ๆ สาวน้อยประแป้ง ว่านกาบหอย เป็นต้น